วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

วีดีโอแนะนำความรู้


ETV ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม  ตอนที่ 12



ETV วิทยาศาสตร์ ม.ปลาย  ตอนที่ 18 (รอบงานด้านไฟฟ้า)



วิธีการตัดตุงใส้หมู


ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตำบลดู่ใต้


ภูมิปัญญา ตำบลดู่ใต้


ที่
ชื่อ-สกุลสาขาวิชา/เชี่ยวชาญด้านหมายเหตุ
1นายสังวาลย์  เผ่าดีศาสนาและวัฒนธรรม
2นายสนิท ลอคำ ศิลปหัตถกรรม
3นายพีระยุทธ  มั่นเข็มทองการกีฬา
4นายสำราญ  กันไชยคำเกษตรกรรม
5นายวงศ์  ตันโนแพทย์แผนโบราณ
6นางสุภาพ  หมื่นโฮ้งศิลปหัตถธรรม





แหล่งเรียนรู้ตำบลดู่ใต้

                         1)  ชื่อ. วัดพญาวัด                                      สถานที่ตั้ง   บ้านพญาวัด ต.ดู่ใต้ 

                         2) ชื่อ วัดพระะธาตุเขาน้อย                         สถานที่ตั้ง   บ้านเขาน้อย ต.ดู่ใต้ 
                         3) ชื่อ   เสานาเคนทร์วัดเจดีย์                     สถานที่ตั้ง   บ้านเจดีย์ ต.ดู่ใต้ 
                         4) ชื่อ   ดอยเขาแก้ว                                   สถานที่ตั้ง    บ้านดู่ใต้  ต.ดู่ใต้ 
                         5) ชื่อ  โรงเรียนชุมชนบ้านดู่ใต้                   สถานที่ตั้ง    บ้านดู่ใต้ ต.ดู่ใต้ 
                         6) ชื่อ สมุนไพรไทย                                    สถานที่ตั้ง    บ้านธงน้อย ต.ดู่ใต้ 
                         7) ชื่อ.โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร               สถานที่ตั้ง    บ้านเจดีย์ ต.ดู่ใต้ 




ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบล


ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลดู่ใต้

ตั้งอยู่ที่   บ้านดู่ใต้  หมู่ 2 ถนนยันตรกิจโกศล  อำเภอเมือง   จังหวัดน่าน  55000

บุคลากร    จำนวน 1 คน  นางสาวภัทรจิต   จันอ้น   ครู กศน.ตำบล  โทรศัพท์ 085-870-9563

จำนวนนักศึกษา  ภาคเรียนที่ 2/2557 มีทั้งหมด จำนวน 63  คน



ข้อมูลชุมชนตำบลดู่ใต

1. สภาพทางกายภาพของชุมชน (ตำบล/แขวง) 
        ตำบลดู่ใต้ กำเนิดมาจาก บ้านดู่ อยู่ทางตอนใต้ของอำเภอเมืองน่าน เริ่มจัดตั้งเป็นตำบลครั้งแรกในปลายรัชกาลที่ 5 โดยมีกำนันคนแรก คือ นายแสนขันฤทธิ์ ดู่จันทร์ศักดิ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2447        ได้เปลี่ยนชื่อบ้านดู่ เป็น บ้านดู่ใต้ และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ราวปี พ.ศ. 2486 ได้ถูกยุบเข้ากับตำบลกองควาย  เพื่อความสะดวกในการปกครอง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ตำบลดู่ใต้แยกออกจากตำบลกองควายอีกครั้งต่อมาในปี   พ.ศ. 2537 ได้จัดตั้งการปกครองตำบลเป็น สภาตำบลดู่ใต้ และยกฐานะเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลดู่ใต้ เมื่อ พ.ศ. 2539 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม          พ.ศ. 2553 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้ยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบลดู่ใต้จนถึงปัจจุบัน


ลักษณะที่ตั้ง
เขตการปกครอง 
เทศบาลตำบลดู่ใต้มีพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตร หรือ 15,625 ไร่ ประกอบด้วย 1 ตำบล คือ ตำบลดู่ใต้ จำนวน 15 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ 1 บ้านดู่เหนือ
  • หมู่ 2 บ้านดู่ใต้
  • หมู่ 3 บ้านธงน้อย
  • หมู่ 4 บ้านเจดีย์
  • หมู่ 5 บ้านดอนมูล
  • หมู่ 6 บ้านพญาวัด
  • หมู่ 7 บ้านสมุน
  • หมู่ 8 บ้านเชียงราย
  • หมู่ 9 บ้านคอวัง
  • หมู่ 10 บ้านดู่ต้นฮ่าง
  • หมู่ 11 บ้านเขาน้อย
  • หมู่ 12 บ้านดู่เหนือพัฒนา
  • หมู่ 13 บ้านดอนมูลพัฒนา
  • หมู่ 14 บ้านธงใหม่พัฒนา
  • หมู่ 15 บ้านเจดีย์
ประชากร 
จำนวนประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดู่ใต้ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 มีจำนวน 8,456 คน แยกเป็นชาย 4,106 คน หญิง 4,350 คน ความหนาแน่นของประชากร 338 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวนบ้าน 3,356 หลังคาเรือน

การคมนาคม 

การคมนาคมทางบกมีถนนสายสำคัญ คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1025 และถนนภายในหมู่บ้านต่างๆ

การศึกษา 

สถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลดู่ใต้ มีดังนี้

  • สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
  • โรงเรียนชุมชนบ้านดู่ใต้
  • โรงเรียนชุมชนบ้านธงน้อย
  • สังกัดสำนักงานการศึกษาอุดมศึกษา
  • วิทยาลัยชุมชนน่าน
การสาธารณสุข 
มีสถานีอนามัยจำนวน 2 แห่ง คือ สถานีอนามัยบ้านดู่ใต้ และสถานีอนามัยบ้านดอนมูล

สถานประกอบการ 

ในเขตเทศบาลตำบลดู่ใต้มีสถานประกอบการในด้านต่างๆ ดังนี้

  • โรงแรมและเกสต์เฮาส์ 5 แห่ง
  • ห้างสรรพสินค้า 1 แห่ง
  • สถานีบริการน้ำมัน 6 แห่ง
  • โชว์รูมรถยนต์ 5 แห่ง
  • บริษัทประกันชีวิต 3 แห่ง
    2. สภาพทางสังคม – ประชากร 
        จำนวนประชาชนในเขตเทศบาลตำบลดู่ใต้ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 มีจำนวน 8,456 คน แยกเป็นชาย 4,106 คน หญิง 4,350 คน ความหนาแน่นของประชากร 338 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวนบ้าน 3,356 หลังคาเรือน

   


หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือน(หลัง)
จำนวนประชากร
ชาย(คน)
หญิง(คน)
รวม(คน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
บ้านดู่เหนือ
บ้านดู่ใต้
บ้านธงน้อย
บ้านเจดีย์
บ้านดอนมูล
บ้านพญาวัด
บ้านสมุน
บ้านเชียงราย
บ้านคอวัง
บ้านดู่ต้นฮ่าง
บ้านเขาน้อย
บ้านดู่เหนือพัฒนา
บ้านดอนมูลพัฒนา
บ้านธงใหม่พัฒนา
บ้านเจดีย์พัฒนา
191
223
216
217
243
252
211
149
90
183
168
137
158
95
695
252
328
374
205
212
283
298
248
155
276
239
230
280
171
360
277
331
337
220
245
340
314
274
149
307
254
216
298
186
401
529
659
711
425
457
623
612
522
304
583
493
446
578
357
761
รวมทั้งสิ้น
3,228
3,911
4,149
8,060
    3. สภาพทางเศรษฐกิจ
      ประชาชนส่วนใหญ่ตำบลดู่ใต้ ประกอบอาชีพ ร้อยละ 90 เกษตรกรรม รับจ้าง และ รับราชการ             ร้อยละ 10












วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

กศน.ตำบลดู่ใต้ จัดกิจกรรม 1 คน 1 อาชีพ ณ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลดู่ใต้

       
กศน.ตำบลดู่ใต้ จัดกิจกรรม 1 คน 1 อาชีพ หลักสูตรการทำแคบหมู  จำนวน 40 ชั่วโมง                  
 ณ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนตำบลดู่ใต้ บ้านเจดีย์ หมู่ 15 ตำบลดู่ใต้ เพื่อฝึกอาชีพให้กับประชาชนตำบลดู่ใต้ ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สมาชิกกลุ่มมีงานทำ และนำความรู้ที่ได้รับไปขยายสามารถสร้างอาชีพหลัก อาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนชุมชนได้มีอาหารไว้บริโภคอย่างปลอดภัย









ประวัติส่วนตัว บุคลากร กศน.ตำบลดู่ใต้


ชื่อ - สกุล  นางสาวภัทรจิต   จันอ้น
ตำแหน่ง   ครู กศน.ตำบล
สถานที่ทำงาน กศน.ตำบลดู่ใต้  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองน่าน
วัน เดือน ปี เกิด   10 สิงหาคม 2528
โทรศัพท์ 085-8709563
ระดับการศึกษา  ปริญญาตรี  ครุศาสตร์บัณฑิต  วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา  วิชาโทเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
ประสบการณ์การทำงาน  1 กันยายน 2551 ถึง ปัจจุบัน (2 มีนาคม 2558)

ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบลดู่ใต้

             กศน.ตำบลดู่ใต้  ก่อตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช  2538 ที่บ้านพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน   โดยใช้ศูนย์สาธารณสุขพื้นฐานบ้านพญาวัด  ดำเนินการมาจนถึงปี   2551   ต่อมามีประชาชนให้ความสนใจ  มาสมัครเรียนเพิ่มขึ้น  เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการบริการจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านดู่ใต้หลังเก่า หมู่2 ตำบลดู่ใต้   และได้รับความร่วมมือจาก เทศบาลตำบลดู่ใต้และสถานีอานามัยดู่ใต้เห็นความสำคัญกับการศึกษาตลอดชีวิต  ส่งเสริมจัดการศึกษาให้กับภาคประชาชนในตำบลดู่ใต้ จึงให้ความอนุเคราะห์ยืมอาคาร ตลอดจนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองน่าน   ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับประชาชน   จึงได้ให้ใช้อาคาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่ใต้ หมู่ที่ 2  ตำบลดู่ใต้  อำเภอเมือง  จังหวัดน่าน  เป็น  กศน.ตำบลดู่ใต้  มาถึงปัจจุบัน